เมนู

อรรถกถานวกนิทเทส


อธิบายญาณวัตถุหมวด 9


คำว่า อนุปุพฺพวิหารสมาปตฺตีสุ ได้แก่ สมาบัติทั้งหลาย กล่าวคือ
ธรรมเป็นเครื่องอยู่โดยลำดับ (อนุปุพพวิหาร). ความที่ปัญญาเหล่านั้น ชื่อว่า
อนุปุพพวิหาร เพราะอรรถว่า อันพระโยคาวจรพึงเข้าอยู่ในกระบวน โดย
ลำดับ. พึงทราบความที่ปัญญาเหล่านั้น ชื่อว่า เป็นสมาบัติ (การเข้าฌาน)
เพราะอรรถว่า เป็นธรรมอันพระโยคาวจรพึงถึงพร้อม. ในปัญญาเหล่านั้น
พึงทราบ สัมปยุตตปัญญา 8 อย่าง มีคำว่า ปัญญาในปฐมฌานสมาบัติ
เป็นต้นอย่างนี้. ปัญญาในปัจจเวกขณะ (การพิจารณา) เป็นปัญญาข้อที่ 9.
จริงอยู่ ปัญญาในปัจจเวกขณะนั้น ย่อมเป็นไปแก่พระโยคาวจรผู้พิจารณาอยู่
โดยสงบ โดยประณีต. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ปัจจ-
เวกขณญาณของพระโยคาวจรบุคคลผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธ-
สมาบัติ
ดังนี้.
ญาณวัตถุหมวด 9 จบ

อรรถกถาทสกนิทเทส


อธิบายญาณวัตถุหมวด 10


อธิบายกำลังที่ 1ของพระตถาคต


คำว่า อฏฺฐานํ (แปลว่า ไม่ใช่ฐานะ) ได้แก่ ปฏิเสธ เหตุ.
คำว่า อนวกาโส (แปลว่า ไม่ใช่โอกาส) ได้แก่ ปฏิเสธปัจจัย. แม้
ด้วยคำทั้งสองก็ปฏิเสธ การณะ (การณะ คือ เหตุนั่นแหละ). จริงอยู่ การณะ

พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสเรียกว่า ฐานะ และ อวกาส (อวกาส คือ โอกาส)
เพราะความที่การณะนั้นเป็นที่อาศัยให้เป็นไปแก่ผลของตน. คำว่า "ยํ" (แปล
ว่า ใด) ได้แก่ ด้วยเหตุใด.
คำว่า ทิฏฺฐิสมฺปนฺโน ได้แก่ พระอริยสาวกผู้เป็นพระโสดาบัน
ถึงพร้อมแล้วด้วยมัคคทิฏฐิ. คำว่า กญฺจิ สงฺขารํ (แปลว่า สังขารอะไรๆ)
ได้แก่ แม้สังขารอะไร ๆ สักอย่างหนึ่งในสังขารทั้งหลายอันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว
ซึ่งเป็นไปในภูมิ 4. คำว่า นิจฺจโต อุปคจฺเฉยฺย (แปลว่า พึงถือเอา...
โดยความเป็นของเที่ยง) ได้แก่ พึงถือเอาว่าเป็นของเที่ยง. คำว่า เนตํ ฐานํ
วิชฺชติ
(แปลว่าไม่ใช่ฐานะที่มีอยู่) ได้แก่ เหตุนั้นไม่มีอยู่ คือหยั่งเห็น
(ด้วยปัญญา) ไม่ได้. คำว่า ปุถุชฺชโน ได้แก่ ปุถุชน . . .พึงยึดถือเอา
ด้วยเหตุใด. คำว่า ฐานเมตํ วิชฺชติ ได้แก่ เหตุนี้มีอยู่. อธิบายว่า
ก็ปุถุชนนั้น. พึงยึดเอาสิ่งสังขารอะไร ๆ ในบรรดาสังขารทั้งหลายอันเป็นไปใน
ภูมิ 4 ว่า เป็นของเที่ยง ด้วยสัสสตทิฏฐิ. ก็* สังขารอันเป็นไปในภูมิ 4 ย่อม
ไม่เป็นอารมณ์ของทิฏฐิหรือว่าของอกุศลทั้งหลายเหล่าอื่น ราวกะก้อนเหล็ก
แดงที่ร้อนตลอดวัน ย่อมไม่เป็นอารมณ์ของแมลงวันทั้งหลาย เพราะความ
เป็นของหนาแน่นด้วยไฟ ฉะนั้น. พึงทราบอธิบายแม้ในคำว่า กิญฺจิ สงฺขารํ
สุขโต
โดยนัยนี้. คำว่า สุขโต อุปคจฺเฉยฺย นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสหมายเอาการยึดถือว่าเป็นสุขด้วยสามารถแห่งอัตตทิฏฐิ อย่างนี้ว่า ตนมี

* ในที่นี้แปลตามบาลีอรรถกถาที่ว่า จตุภูมิกสังขาโร แต่โดยสภาวปรมัตถ์แล้วควรจะเป็นสังขาร
ในภูมิที่ 4 คือโลกุตตรธรรม จึงจะถูกต้องที่ไม่เป็นอารมณ์ของทิฏฐิและอกุศลทั้งหลาย

ความสุขโดยส่วนเดียว เบื้องหน้าแต่การตาย ก็ไม่มีโรค ดังนี้เป็นต้น. ก็
พระอริยสาวกผู้ครอบงำซึ่งความเร่าร้อนแล้ว ด้วยจิตอันเป็นทิฏฐิวิปปยุต
เหมือนนายหัตถาจารย์ผู้ยังช้างตกมัน ให้สะดุ้งเพื่อต้องการให้ความเร่าร้อนสงบ
ระงับ เหมือนโปกขรพราหมณ์ผู้ใคร่ต่อความสะอาด ย่อมไม่ยึดถือสังขาร
อะไร ๆ ดุจคูถ ว่าเป็นความสุข. ในอัตตวาทะ (ในลัทธิว่าตนมีอยู่) พระผู้
มีพระภาคเจ้า ไม่ตรัสคำว่า สังขาร ดังนี้ เพื่อสงเคราะห์ซึ่งบัญญัติ มีกสิณ-
บัญญัติเป็นต้น จึงตรัสว่า ธรรมอะไร ๆ ดังนี้. บัณฑิตพึงทราบการกำหนดใน
ญาณแม้นี้ด้วยสามารถแห่งภูมิ 4 ของพระอริยสาวก และด้วยสามารถแห่งภูมิ
3 ของปุถุชน. อีกอย่างหนึ่ง การกำหนดในวาระทั้งปวง ด้วยสามารถแห่งภูมิ
3 นั่นแหละ ย่อมควรแม้แก่พระอริยสาวก. ก็ปุถุชนย่อมยึดถือซึ่งสิ่งใดๆ
พระอริยสาวก ย่อมกำจัดซึ่งความยึดถือแต่สิ่งนั้น ๆ จริงอยู่ ปุถุชน ย่อม
ยึดถือสังขารใด ๆ ว่าเป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตาดังนี้ พระอริยสาวก
เมือกำหนดสังขารนั้น ๆ ว่า เป็นสิ่งไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา ชื่อว่า กำจัด
ซึ่งความยึดถือ.
ในคำว่า มาตรํ (แปลว่า มารดา) เป็นต้น มารดาผู้เป็นที่เกิด บิดา
ก็คือผู้ให้เกิด. พระขีณาสพ ผู้เป็นมนุษย์เท่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประสงค์
เอาในคำว่า ฆ่าพระอรหันต์. เมื่อมีคำถามว่า พระอริยสาวกพึงปลงสัตว์ลง
จากชีวิต (ฆ่าสัตว์) หรือ ก็ต้องตอบว่า แม้ข้อนี้เป็นอฐานะ. แม้ถ้าว่า ใคร ๆ
พึงกล่าวกะพระอริยสาวกผู้อยู่คนละภพก็ดี กะบุคคลผู้แม้ไม่รู้ความที่ตนเป็น

พระอริยสาวกก็ดีว่า ท่านจงปลงมดดำเล็ก ๆ ตัวนี้ลงจากชีวิตไซร้ แล้วก็จะ
ถึงความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในห้วงแห่งจักรวาลทั้งสิ้น ดังนี้. พระอริยสาวก
นั้น จะไม่พึงปลงซึ่งสัตว์นั้นลงจากชีวิตแน่แท้. แม้อีกอย่างหนึ่ง ชนทั้งหลาย
พึงกล่าวกะพระอริยสาวกนั้น อย่างนี้ว่า ถ้าท่านจักไม่ฆ่าซึ่งสัตว์นี้ลงจาก
ชีวิตไซร้ พวกเราจักตัดศีรษะของท่าน ดังนี้ ชนเหล่านั้น ก็จะพึงตัดศีรษะ
ของพระอริยสาวกนั้นแน่ เพราะว่า ท่านไม่พึงฆ่าสัตว์นั้นเลย. ก็คำนี้กล่าวไว้
เพื่อแสดงของความเป็นปุถุชนมีโทษมาก และเพื่อแสดงซึ่งกำลังของพระอริย-
สาวก. จริงอยู่ ในญาณข้อนี้ พึงทราบอธิบาย ดังนี้
ปุถุชน จักกระทำอนันตริยกรรม มีการฆ่ามารดาเป็นต้นใดแล ชื่อ
ว่า ความเป็นปุถุชนผู้เป็นไปกับด้วยโทษ จักกระทำอนันตริยกรรมแม้นั้นได้.
พระอริยสาวกชื่อว่า ผู้มีกำลังมาก เพราะท่านไม่ทำกรรมเหล่านี้ ดังนี้.
คำว่า ทุฏเฐน จิตฺเตน (แปลว่า ผู้มีจิตประทุษร้าย) ได้แก่ มี
จิตฆ่าอันสัมปยุตด้วยโทสะ. คำว่า โลหิตํ อุปฺปาเทยฺย (แปลว่า ยังพระ-
โลหิตของพระพุทธเจ้าให้ห้อขึ้น) ได้แก่ ยังพระโลหิตในสรีระของพระพุทธเจ้า
ผู้ยังทรงพระชนม์อยู่แม้มีประมาณการดื่มกินของแมลงตัวเล็ก ๆ ให้ห้อขึ้น.
คำว่า สงฺฆ์ ภินฺเทยฺย (แปลว่า พึงยังสงฆ์ให้แตกจากกัน) ได้
แก่ ยังสงฆ์ผู้มีสังวาสเสมอกัน ผู้ตั้งอยู่ในสีมาเสมอกัน ให้แตกไปด้วยเหตุ 5
ประการ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนอุบาลี สงฆ์ย่อมแตกจากกัน ด้วยอาการ 5 ประการ
คือ ด้วยกรรมอุทเทส การกล่าวขัดแย้งกัน อนุสาวนา การจับ
สลาก.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ด้วยกรรม ได้แก่ ในกรรม 4 อย่าง มี
อปโลกนกรรม1 เป็นต้น กรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง. คำว่า โดยอุทเทส ได้แก่
ในการสวดพระปาฏิโมกขุทเทส 5 อย่าง ด้วยการสวดพระปาฏิโมกขุทเทสอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง. คำว่า การกล่าว ได้แก่ การกล่าวคือแสดงอยู่ซึ่งเภทกรวัตถุ (เรื่อง
วิวาท) 182 มีคำว่า อธมมํ ธมฺโม (แปลว่า สิ่งที่ไม่ใช่ธรรม กล่าวว่า
เป็นธรรม) เป็นต้น โดยเรื่องวิวาทกันเหล่านั้น ๆ ที่เกิดขึ้น. คำว่า โดย
อนุสาวนา ได้แก่ ด้วยการกล่าวประกาศ เพราะเปล่งวาจาใกล้หู (เป่าหู) โดย
นัยว่า ท่านทั้งหลายย่อมทราบซึ่งความที่เราบวชแล้วจากตระกูลสูง และเราก็
เป็นพหูสูต บุคคลชื่อว่าผู้เช่นกับด้วยเรา พึงถือเอาซึ่งคำสั่งสอนของพระพุทธ-

1. กรรม 4 อปโลกนกรรม 1 ญัตติกรรม 1 ญัตติทุติยกรรม 1 ญัตติจตุตถกรรม 1
2. เภทกรวัตถุ 18 คือ:-
1. สิ่งไม่ใช่ธรรม กล่าวว่า เป็นธรรม
2. สิ่งที่เป็นธรรม กล่าวว่า ไม่ใช่ธรรม
3. สิ่งที่ไม่ใช่วินัย กล่าวว่า เป็นวินัย
4. วินัย กล่าวว่า ไม่ใช่วินัย
5. สิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ กล่าวว่า ไม่ได้ตรัสไว้
6. สิ่งที่ตรัสไว้ กล่าวว่า ไม่ได้ตรัสไว้
7. สิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเคยทำมา กล่าวว่า ไม่เคยทำมา
8. สิ่งที่เคยทำมา กล่าวว่า ไม่เคยทำมา
9. สิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ กล่าวว่า ไม่ได้ทรงบัญญัติไว้
10. สิกขาบทที่ไม่ทรงบัญญัติไว้ กล่าวว่า บัญญัติไว้
11. วัตถุเป็นอาบัติ กล่าวว่า ไม่เป็นอาบัติ
12. วัตถุไม่เป็นอาบัติ กล่าวว่า เป็นอาบัติ
13. อาบัติเบา กล่าวว่า เป็นอาบัติหนัก
14. อาบัติหนัก กล่าวว่า เป็นอาบัติเบา
15. อาบัติที่แก้ไขได้ กล่าวว่า แก้ไขไม่ได้
16. อาบัติที่แก้ไขไม่ได้ กล่าวว่า แก้ไขได้
17. อาบัติหยาบช้า กล่าวว่า เป็นอาบัติไม่หยาบช้า
18. อาบัติไม่หยาบช้า กล่าวว่า เป็นอาบัติหยาบช้า

เจ้าผิดไปจากธรรมจากวินัยหรือ แม้แต่ความคิด ท่านทั้งหลายก็ไม่ควรเพื่อให้
เกิดขึ้น ประโยชน์อะไรของเรา เราย่อมไม่กลัวอะไร ๆ จากอบาย อวีจินรก
เป็นธรรมชาติสงบ ราวกะดงแห่งดอกอุบลเขียว เป็นต้น. คำว่า โดยการจับ
สลาก ชื่อว่า การจับสลาก เพราะว่าครั้นประกาศอย่างนั้นแล้ว จึงอุปถัมภ์
เจตนาของบุคคลเหล่านั้นให้กำเริบ แล้วก็กล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงถือเอาซึ่ง
สลากนี้ (หมายถึงเขียนสลากให้จับเพื่อให้เป็นพวกของตนมาก).
อนึ่ง ในข้อนี้ กรรม (การกระทำ) นั่นแหละเป็นอุทเทส หรือเป็น
ประมาณ (เครื่องกำหนด). ก็การถือเอาสลาก เพราะกล่าวขัดแย้งกัน และ
การประกาศ จัดเป็นบุพภาค (เบื้องต้น) จริงอยู่ สงฆ์ยังไม่แตกกัน แม้
เพราะบุคคลผู้กล่าวขัดแย้งกัน ด้วยสามารถแห่งการแสดงวัตถุ (เรื่องวิวาท)
18 ข้อ เพราะการประกาศความต้องการให้เกิดความเห็นชอบในที่นั้นแล้วถือ
เอาสลาก (อันนี้คงหมายถึงการนับคะแนนว่าใครมีความเห็นทางไหนเป็นเหตุ
ให้แตกแยกกัน). แต่ว่า เมื่อใด สงฆ์ถือเอาสลาก 4 รูปหรือเกินกว่าด้วย
อาการที่กล่าวมาแล้วก็ทำกรรม หรือทำอุทเทส สงฆ์แยกออกไปเป็น 2 พวก
ในกาลนั้น สงฆ์จึงชื่อว่า แตกกันแล้ว.
ข้อว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ (มัคคทิฏฐิ) ด้วยอาการอย่างนี้ พึง
ทำลายสงฆ์นี้ มิใช่ฐานะ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถึงอนันตริยกรรม 5 มี
การฆ่ามารดาเป็นต้นไว้ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ว่า ปุถุชนย่อมทำซึ่งอนันตริย-
กรรมใด พระอริยสาวก ย่อมไม่ทำซึ่งกรรมนั้น.
เพื่อความแจ่มแจ้งแห่งกรรมเหล่านั้น พึงทราบวินิจฉัยนี้คือ
โดยกรรม
โดยทวาร

โดยการตั้งอยู่ตลอดกัป
โดยปากะ (ผลของกรรม)
โดยสาธารณะ


วินิจฉัย ว่าโดยกรรม


ในคำเหล่านั้น ว่าโดยกรรมก่อน. จริงอยู่ในอนันตริยกรรมนี้ เมื่อ
เป็นมนุษย์นั่นแหละแกล้งปลงชีวิตมารดาหรือบิดาผู้เป็นมนุษย์ ผู้มีเพศไม่
เปลี่ยนแปลง1 (ฆ่ามารดาบิดา) อนันตริยกรรมย่อมมีแก่เขา. มนุษย์ผู้ทำกรรม
นั้น คิดว่า เราจักห้ามวิบากของอนันตริยกรรมนั้น ดังนี้ จึงยังจักรวาลทั้งสิ้น
ให้เต็มด้วยพระสถูปอันสำเร็จแล้ว ด้วยทองคำมีประมาณเท่ามหาเจดีย์ก็ดี ยัง
ภิกษุสงฆ์ผู้นั่งตลอดจักรวาลแล้วถวายมหาทานก็ดี จับชายผ้าสังฆาฏิของพระผู้-
มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้วเที่ยวไปก็ดี ก็ย่อมเกิดในนรกนั่นแหละ เพราะกาย
แตก. แต่ว่า ผู้ใดเป็นมนุษย์แกล้งปลงชีวิตมารดาหรือบิดาผู้เป็นสัตว์เดรัจฉาน
หรือว่า ตนเองเป็นสัตว์เดรัจฉานปลงชีวิตมารดาหรือบิดาผู้เป็นมนุษย์ หรือ
เป็นสัตว์เดรัจฉานนั่นแหละปลงชีวิตมารดาบิดาผู้เป็นสัตว์เดรัจฉานให้ตกล่วงไป
กรรมของผู้นั้นไม่เป็นอนันตริยกรรม. แต่ก็เป็นกรรมอันหนัก ย่อมตั้งอยู่จด
อนันตริยกรรมนั่นแหละ. ปัญหานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยสามารถ
แห่งสัตว์ผู้เกิดเป็นมนุษย์.
ในข้อนี้ บัณฑิตพึงกล่าวถึง หมวด 4 แห่งการฆ่าแพะ หมวด 4
แห่งสงคราม และหมวด 4 แห่งการฆ่าโจร ดังนี้ คือ

ก็มนุษย์ผู้ยังมารดาหรือบิดาผู้เป็นมนุษย์ซึ่งยืนอยู่ในที่ใกล้แพะให้ตาย
แม้ด้วยความมุ่งหมายว่า เราจักฆ่าแพะ ดังนี้ ย่อมได้รับอนันตริยกรรม. ก็

1. หมายความว่าเพศของบิดามารดาตั้งอยู่โดยปกติมิได้เปลี่ยนไปเป็นสัตว์เดียรฉาน